เคลือบนาโน เทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์

เคลือบนาโน หรือนาโนเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างเร่งวิจัยและพัฒนาการเคลือบผิวสัดุด้วยนาโน เพิ่มใช้สร้างผลิตภัณฑ์แบบใหม่ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุต่างๆ เช่น วัสดุก่อสร้าง เซลล์แสงอาทิตย์ สิ่งทอ เป็นต้น ศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ ประเทศไทยของเราเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. ได้มีการพัฒนาสารเคลือบอนุภาคนาโน สำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น เทคโนโลยี สารเคลือบดูดซับความร้อนของท่อนำความร้อนแผง รวมแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา เพื่อตอบโจทย์ทางด้านของภาคเอกชน ที่มีความต้องการใช้กราฟีนเป็นวัสดุเคลือบเพื่อดูดซึมความร้อนบนท่อโลหะในระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การดูดซับความร้อนบนท่อโลหะ โดยทั่วไปจะใช้เทคโนโลยีการเคลือบผิวแบบตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพ ของสารผสมระหว่างโลหะกับโลหะออกไซด์ แต่เนื่องจากต้นทุนนั้นสูงมาก จึงต้องใช้อนุภาคกราฟินแทน ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้  มีการทดสอบการเคลือบนาโน เคลือบอนุภาคกราฟินลงบนท่อสแตนเลสพบว่ามีความสามารถในการดูดซึมความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ แต่ยังพบปัญหาเรื่องการหลุดลอก เพราะอนุภาคกราฟินไม่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะบนสแตนเลสได้ดีเท่าที่ควร สภาพื้นผิวของวัสดุทั้งสองอย่างนี้ไม่เข้ากัน ทีมงานวิจัยและพัฒนาของ สสวท. จึงมีการศึกษาการใช้วัสดุนาโนเพื่อเพิ่มการยึดเกาะของอนุภาคกราฟิน มีการเลือกใช้สารนาโนซิลิกา ช่วยเพิ่มการยึดเกาะได้ดีมากขึ้น จนท้ายที่สุดแล้วได้สูตรเป็นสารเคลือบดูดซับความร้อนบนท่อโลหะ ระบบผลิตพลังงานแบบรางพาลาโบลา มีการยึดเกาะบนผิวสแตนเลสได้ดีเยี่ยมและสามารถดูดซับความร้อนบนท่อโลหะได้มากขึ้นด้วย สารเคลือบดังกล่าวนี้ สามารถทนทานต่อความร้อนได้ประมาณ 500 องศาเซลเซียส ไม่สภาวะที่ไม่ออกซิเจน และยังมีคุณสมบัติทนทานต่อการยืดและการหดตัวของโลหะในช่วงอุณหภูมิ 30-500 องศาเซลเซียส โดยสามารถใช้การพ่นเคลือบจากสเปรย์ได้ มีต้นทุนต่ำกว่าการเคลือบผิวแบบตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพมากกว่าถึง 70

เครื่องลดความชื้นที่ได้รับความนิยม มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

อากาศที่อยู่โดยรอบตัวของเรานั้นเต็มไปด้วยความชื้นสะสม โดยเฉพาะในเมืองไทยของเราที่มีความชื้นสัมพัทธ์ค่าเฉลี่ยค่อนข้างสูงต่อปี โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ที่ค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ บางครั้งอาจสูงถึง 85 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเลยทีเดียวด้วยค่าความชื้นที่สูงนี้จึงเป็นปัญหาของการเกิดเชื้อราและยังเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมที่อุปกรณ์หรือเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ตามมาด้วยปัจจุบันเครื่องลดความชื้นจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างมาก เครื่องลดความชื้นมีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ มีหน้าที่ลดความชื้นในอากาศและดูดความชื้นจากอากาศผ่านแผงคอยล์เย็นซึ่งทำหน้าที่ให้ความชื้นนั้นกลายเป็นหยดน้ำและทำการปล่อยอากาศร้อนหรืออากาศแห้งเข้ามาแทนที่ความชื้นที่อยู่ในรูปของหยดน้ำก็จะถูกปล่อยทิ้งไปตามท่อน้ำทิ้ง เครื่องลดความชื้นปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ 1.เครื่องลดความชื้นแบบเดสิคแค้นท์ (เครื่องดูดความชื้น) เครื่องลดความชื้นประเภทนี้เหมาะกับการใช้งานในฤดูหนาวเป็นอย่างมากเหมาะที่จะใช้งานในสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็นหรือมีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากอากาศจะถูกดูดเข้าไปในอุปกรณ์ฮีตเตอร์หรืออุปกรณ์ทำความร้อนเพื่อทำให้อากาศร้อนหลังจากนั้นก็จะกระจายอากาศออกมา จึงทำให้อุณหภูมิของห้องสูงขึ้น ข้อดีของเครื่องลดความชื้นประเภทนี้คือทำงานโดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนหรือมีเสียงดังที่เงียบกว่าเครื่องลดความชื้นประเภทอื่นๆ แต่ก็มีข้อเสียคือกินไฟมากทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง 2.เครื่องลดความชื้นแบบเซมิคอนดักเตอร์ สำหรับเครื่องลดความชื้นประเภทนี้ จุดเด่นคือเป็นเครื่องลดความชื้นที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะวางในพื้นที่แคบการทำงานไม่มีเสียงดังรบกวน เมื่อเปิดใช้งานคล้ายกับเครื่องดูดอากาศรุ่นอื่นๆ แต่ด้วยความที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดจึงเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่กว้างหรือมีพื้นที่ที่มีจำกัด ยกตัวอย่างเช่น ใต้โต๊ะ ใต้เตียง ในตู้เสื้อผ้า เป็นต้น เครื่องดูดความชื้นจะสามารถดูดกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์ได้ด้วย เครื่องลดความชื้นประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในฤดูหนาวหรืออาจทำงานได้ไม่ดีนักในอุณหภูมิต่ำในขณะเดียวกันกำลังไฟในการดูดความชื้นก็ไม่เพียงพอต่อการดูดความชื้นให้ครอบคลุมในพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขวางของห้องด้วย 3.เครื่องลดความชื้นประเภทคอมเพรสเซอร์ มาปิดท้ายกันที่เครื่องลดความชื้นประเภทคอมเพรสเซอร์เป็นเครื่องลดความชื้นที่เหมาะสำหรับการใช้งานในฤดูฝนและฤดูร้อนเนื่องจากสามารถลดความชื้นในอากาศโดยไม่ต้องเพิ่มอุณหภูมิห้อง กลไกการทำงานคือกระดึงอากาศร้อนหรือความชื้นเข้าไปในเครื่องและทำให้เย็นลง ข้อเสียของเครื่องลดความชื้นประเภท Compressor คือมีขนาดใหญ่กว่าประเภทอื่นๆ ดังนั้น ผลเสียที่ตามมาคือในขณะที่เครื่องทำงานจะมีเสียงดังที่คล้ายกับเครื่องปรับอากาศ

แต่งบ้านสไตล์ที่ใช่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ชอบ

บ้าน ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาค่อนข้างแพง นับวันไปราคาก็ดีไม่เคยมีตก ยิ่งบ้านทำเลดีๆ ใครๆ ก็อยากจะซื้อ การมีบ้านหนึ่งหลังนอกจากความอบอุ่นและความสุขในการอยู่อาศัยแล้ว การได้แต่งบ้านให้เป็นในแบบสไตล์ที่เราชอบ จะทำให้การอยู่อาศัยนั้นแฮบปี้มากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าวันหยุดก็อยากจะอยู่แต่บ้านไม่อยากจะออกไปไหนเลยล่ะ สไตล์การตกแต่งบ้านนอกจากความสวยงามแล้ว ยังบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของเจ้าของบ้านอีกด้วย วันนี้จะมาแนะนำสไตล์ของบ้าน เผื่อว่าใครกำลังจะแต่งบ้านจะได้ลองเอาไปใช้กันเลย สไตล์โมเดิร์น เป็นสไตล์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง โดยสไตล์โมเดิร์น (Modern Style) เป็นการตกแต่งบ้านสำหรับคนที่ชอบความเรียบง่าย ไม่หรูหราอลังการ แต่ดูดีด้วยโทนสีและรูปทรงธรรมดา ซึ่งโทนสีที่นำมาใช้บ่อยครั้งในสไตล์โมเดิร์น ได้แก่ สีขาว ดำ และเทา บางครั้งก็ใช้แม่สีมาเติมความสดใส และของตกแต่งรูปทรงเลขาคณิต เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่และการใช้งาน บ้านจะดูมีความเรียบร้อยเป็นระเบียบมากๆ  สไตล์มินิมอล พักหลังมานี้เรามักจะได้เห็นการแต่งบ้านสไตล์มินิมอลกันมากขึ้น โดยสไตล์มินิมอลนี้ จะตัดส่วนที่ไม่จำเป็น และเหลือไว้เฉพาะสิ่งสำคัญ ตามคอนเซ็ปต์ “Less is More” หรือน้อยแต่มาก โดยการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น สิ่งของถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ สะอาดตา และเน้นใช้สีอิงกับธรรมชาติแบบสีเอิร์ธโทนหรือสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว น้ำตาล สีเขียว และสีฟ้า นั่นเอง  Contemporary หรือ ร่วมสมัย